Viable Supply Chain การจัดการซัพพลายเชน เพื่อความอยู่รอด และเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจ
ที่ผ่านมา วิกฤตที่เกิดกับการบริหารซัพพลายเชน จะเป็นการออกจัดการการหยุดชะงัก (Disruptions) ที่กระทบเป็นครั้งๆ ในแต่ node ของซัพพลายเชน Disruption เช่น ภัยพิบัติ น้ำท่วม เช่น ถ้าโรงงานผลิตวัตถุดิบหลัก เกิดเพลิงไหม้ จะให้เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบที่สั่งซื้อจากแหล่งนั้น การจัดการซัพพลายเชนก็จะเปลี่่ยนแหล่งซื้อไปตามแหล่งขายสำรองอื่นๆ
แต่สภาวะโควิดใน 2 ปีที่ผ่านมา เป็น Disruption ต่อเนื่อง ยาวนาน และกระจายเป็นวงกว้าง (และก็ยังไม่หยุด รอติดตาม Omicron อีกแล้ว)
วิกฤตโควิด ได้ทดสอบ แนวความคิดการจัดการความเสี่ยงของซัพพลายเชน แบบไม่เคยเจอะเจอกันมาก่อนเลย
กูรูการบริหารจัดการความเสียงซัพพลายเชน Prof. Dmitry Ivanov ได้เสนอแนวกรอบความคิด การจัดการการรับมือวิกฤตนี้ คือ การบริหารจัดการซัพพลายเชนที่ #ปรับตัวไปตามสถานการณ์ พร้อมๆกัน #ปรับเปลี่ยนโครงสร้าง หรือ เรียกว่า Viable Supply Chain
วิกฤตโควิด ได้ทดสอบ การจัดการความเสี่ยงของธุรกิจที่ ส่วนใหญ่ ไม่ได้เตรียมการมาก่อน
การออกแบบ Viable Supply Chain จะต้องมี
#คล่องตัวสูง หรือ Agility คือ ต้องตอบสนองคว้าโอกาศเมื่อ Demand พุ่ง (เช่น ความต้องการของ Mask, เจลล้างมือ)
#ยืดหยุ่นสูง หรือ Resilience ซัพพลายเชยต้องการความยืดหยุ่น เพื่อซับแรงกระแทก และกลับมาทำงานได้เหมือนก่อนเกิด disruption
#เอาตัวรอดได้ในภาวะวิกฤตที่ยาวนาน โดยมีความสามารถส่งมอบสินค้าและบริการให้แก่สังคมและลูกค้าได้ในระยะยาว
เช่น โควิดเป็นตัวอย่างวิกฤตที่ต่อเนื่องยาวนาน ดังนั้น การจัดการ รับมือจำเป็นต้องเลือกออกแบบเตรียมพร้อม ในรูปแบบต่างๆ และพร้อมปรับตัวอย่างต่อเนื่อง ครับ
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สอบถามเราได้ครับ
ผู้เขียน:
ผู้เขียน
เอกรัตน์ รุจิรเศรษฐกุล, CPIM ESLog
ที่ปรึกษากลยุทธ์ โลจิสติกส์และซัพพลาย
ประสบการณ์บริหารซัพพลายเชน กับบริษัทระดับโลกมากกว่า 20 ปี
ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษา วิทยากร และอาจารย์พิเศษ
พบกับผลงานของผู้เขียนได้ที่
เพจ Right Strategy by Akarat และ ช่องยูทูป Supply Chain Talk